รถราง

เก็ตนับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความพยายามในการผลักดันให้โครงการรถไฟฟ้ารางเบาให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันกันมาอย่างยาวนานมากกว่า 10 ปี เนื่องจากจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศและมีชื่อเสียงในระดับโลก ด้วยความเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังทำให้ความเจริญโตแบบก้าวกระโดด มีธุรกิจน้อยใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่มากมาย รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บวกกับผู้คนที่เข้ามาอาศัยและท่องเที่ยวมากขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้เกิดปัญหาด้านการสัญจรที่ไม่สะดวกมีมากตามไปด้วย

แม้ว่า ณ เวลานี้ ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต จะเริ่มเบาบางลง เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดที่ส่งผลกระทบไปทั่ว ทำให้จำนวนคนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดลดน้อยลงโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่หลายคนก็เชื่อว่าอีกไม่นานการท่องเที่ยวของภูเก็ตจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และปัญหาเรื่องจราจรก็จะย้อนกลับมาเช่นเดียวกัน ดังนั้นโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง โดยระบบรถไฟฟ้ารางเบา ชนิด Tram ก็ยังเป็นความฝันของคนภูเก็ต ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมากในการศึกษาความเป็นไปได้ รวมทั้งมีภาคเอกชน และ นักลงทุนชาวต่างชาติ มาพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดหลายๆคน แม้กระทั่งการเดินทางไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศเพื่อผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

หลังจากที่มีการผลักดันกันมาอย่างยาวนาน คนภูเก็ตก็เริ่มมีความหวังเมื่อมีแสงเทียนโผล่ขึ้นปลายอุโมงค์ หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนงาน/โครงการ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งสนับสนุนและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และฝั่งอันดามัน (จังหวัดภูเก็ต)

โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี–พังงา–ภูเก็ต มีการศึกษาออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA กับระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต–ห้าแยกฉลอง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ตให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตอันเป็นผลกระทบจากการขยายตัวดังกล่าว

Updated: November 15, 2020 — 7:00 am

Leave a Reply